Friday, August 17, 2012

Julian Assange

ข่าวประเทศเอกวาดอร์ให้สิทธิในการลี้ภัยทางการเมืองแก่"จูเลียน อัสซานจ์"ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ "วิกิลีกส์" ก็ต้องขอชมเชยรัฐบาลเอกวาดอร์ที่ยื่นอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้องในเรื่องนี้ แม้รัฐบาลอังกฤษจะออกมาขู่ว่าจะบุกเข้าจับตัว"จูเลียน"ในสถาณทูตเอกวาดอร์ก็ตาม หากใครที่ติดตามเรื่องของ"จูเลียน อัสซานจ์"ก็พอจะเดาออกว่าสหรัฐฯน่าจะเป็นตัวการสำคัญที่ต้องการตัว"จูเลียน" เพราะเขาได้ปล่อยเอกสารลับของสหรัฐฯสู่สาธารณะกว่า 250000ฉบับ

เรื่องนี้จึ่งหาใช่เป็นเรื่องของคดีข้อหาล่วงละเมิดทางเพศ ที่"จูเลียน"โดนสองสาวสวีเดนฟ้องร้องเท่านั้น สิ่งที่สำคัญคือ"จูเลียน"ขอให้รัฐบาลสวีเดนสัญญาว่าจะไม่ส่งตัวเขาให้สหรัฐฯ เขาก็จะไปให้ปากคำที่สวีเดน แต่รัฐบาลสวีเดนไม่สามารถให้สัญญาด้วยเหตุผลเพียงว่า สหรัฐฯยังไม่ได้ยื่นเรื่องขอตัว"จูเลียน"ต่อรัฐบาลสวีเดนเลย คำตอบของรัฐบาลสวีเดนจึ่งทำให้"จูเลียน"หรือใครๆก็ไม่มีความมั่นใจ


คดีข้อกล่าวหาละเมิดทางเพศนั้นยังอยู่ในขั้นสอบสวน หากเรามาดูเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามที่สื่อในสวีเดนได้เสนอ ก็แทบจะไม่มีอะไรที่"จูเลียน"ต้องกังวลในการไปให้ปากคำต่อตำรวจในสวีเดนเลยแม้แต่น้อย

เรื่องมันมีอยู่ว่าในเดือนสิงหาคม 2010 "จูเลียน"ได้รับเชิญมาในงานการเปิดตัวของ"วิกิลีกส์"ในสวีเดน และสื่อบางสื่อก็บอกว่าในทีมงานที่เชิญมาคือสาวที่ฟ้องร้อง"จูเลียน"นั้นเอง หลังจากงานเลิกสาวคนดังกล่าวได้เชิญ"จูเลียน"พักที่บ้าน และได้มีเพศสัมพันธุ์กันโดยความยินยอมทั้งสองฝ่ายในคืนนั้นด้วยการใส่ถุงยางอนามัย พอรุ่งเช้า"จูเลียน"ได้มีเพศสัมพันธุ์กับเธออีกครั้งในขณะที่เธอนอนหลับ เมื่อเธอตื่นขึ้นมาก็ถาม"จูเลียน"ว่าได้ใส่ถุงยางฯหรือเปล่า?"จูเลียน"ตอบว่าไม่ได้ใส่และเธอก็ไม่ได้ว่ากล่าวแต่อย่างไร หลังจากนั้นไม่นานเธอก็ไปแจ้งความต่อตำรวจพร้อมทนายว่า"จูเลียน"ข่มขืนเธอ แต่ทางอัยการไม่รับเรื่องเพราะเห็นเป็นการสมยอมกันทั้งสองฝ่าย

ถัดมาอีกห้าวันก็มีสาวอีกคนโผ่ลมากล่าวหาว่า"จูเลียน"ล่วงละเมิดทางเพศ เพราะขณะที่เธอกับ"จูเลียน"ได้มีเพศสัมพันธุ์กันถุงยางอนามัยเกิดแตก สาวทั้งสองจึ่งร่วมกันยื่นฟ้อง"จูเลียน"อีกครั้งในคดีล่วงละเมิดทางเพศ อัยการ(ไม่ใช่คนเดิมที่สาวคนแรกยื่นฟ้อง)รับฟ้องยืนต่อศาลฯสต๊อกโฮม ศาลฯออกหมายเรียกในวันที 18 ตุลาคม 2010 แต่ในขณะนั้น"จูเลียน"ได้เดินทางไปอังกฤษแล้ว

วันที่ 18 พฤษจิกายน 2010 ศาลฯสต๊อกโฮมออกหมายจับ"จูเลียน" ซึ่งหลังจากนั้นไม่นาน"จูเลียน"ก็เข้ามอบตัวต่อตำรวจอังกฤษแล้วโดนจับขังไว้หลายเดือนจึ่งได้ประกันตัวออกมา แต่ต้องมารายงานตัวต่อตำรวจทุกวัน วันที 24 กุมภาพันธ์ 2011 ศาลฯอังกฤษได้ตัดสินให้ส่งตัว"จูเลียน"ไปสวีเดน ซึ่ง"จูเลียน"ก็ยื่นอุธรณ์เพราะเกรงว่าสวีเดนจะส่งเขาต่อให้สหรัฐฯ วันที่ 2 พฤษจิกายน 2011 ศาลฯอุธรณ์ตัดสินตามศาลชั้นต้นให้ส่ง"จูเลียน"ไปสวีเดน "จูเลียน"ยื่นอุธรณ์ต่อศาลฯฏีกาและวันที่ 30 พฤษภาคม 2012 ศาลฯฏีกาไม่รับเรื่องและให้ทางการอังกฤษส่งตัว"จูเลียน"ไปสวีเดน

วันที 19 มิถุนายน 2012 "จูเลียน"เข้ายื่นขอลี้ภัยทางการเมืองที่สถาณทูตฯเอกวาดอร์และได้พักอาศัยอยู่ที่นั้นจนได้รับสิทธิในการลี้ภัยฯ ทั้งหมดเป็นเรื่องราวสั้นๆของคนที่กล้าเปิดโปงความชั่วร้ายของสหรัฐฯที่ได้กระทำต่อประเทศอื่น แล้วได้รับการกลั่นแกล้งจากมวลมิตรประเทศของสหรัฐฯเช่นไร จริงๆแล้ว"จูเลียน"ต้องการที่จะมาขอลี้ภัยทางการเมืองในสวีเดน เพราะเห็นว่าเป็นประเทศที่มีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและมีกฎหมายรองรับโดยเฉพาะสื่อในด้านอินเตอร์เน็ต

สวีเดนได้เคยช่วยเหลือสหรัฐฯในการให้เครื่องบินบรรทุกคนที่สหรัฐฯกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อการร้าย จอดลงที่สนามบินBrommaเพื่อทำอะไรก็ไม่ทราบ เรื่องนี้ทางรัฐบาลสวีเดนได้ตอบปฏิเสธตอนต้นๆ แต่ตอนหลังมาจนมุมต่อหลักฐานที่นักข่าวเสนอเลยต้องออกมายอมรับ และอีกหลายๆเรื่องที่สหรัฐฯได้ขอร้องให้รัฐบาลสวีเดนทำตาม เช่นการตัดเส้นทางการเงินของบุคคลที่อยู่ในบัญชีดำของสหรัฐฯ ซึ่งในช่วงเวลานั้นสหรัฐฯเวี่ยงแหคุมรายชื่อคนมากมายและคนที่บริสุทธิ์ก็โดนไปหลายคน

แม้ว่าทางด้านขบวนการยุติธรรมของสวีเดนจะออกมาโว้วายว่า สวีเดนมีขบวนการยุติธรรมที่ดีเลิศกว่าประเทศไหนๆในโลก และการที่"จูเลียน"กระทำเช่นนี้เหมือนกับตบหน้าขบวนการยุติธรรมของสวีเดนอย่างจัง หากเป็นผมๆก็ไม่ไปให้ปากคำในสวีเดนตราบใดที่รัฐบาลสวีเดนยังไม่กล้าให้คำสัญญาว่าจะไม่ส่งเขาต่อไปสหรัฐฯ

อดไม่ได้ที่ต้องชื่นชมคำแถลงการของท่านทูตฯเอกวาดอร์ที่กล่าวว่า"สมัยนี้ไม่ใช่สมัยล่าอาณานิคมฯ และเราไม่ใช่เมืองขึ้นของอังกฤษ เหตุใดจึ่งต้องทำตามอังกฤษด้วย" ประเทศเล็กๆอย่างเอกวาดอร์ยังกล้าชนกับอังกฤษ แม้ว่าเงาที่ดำทมึนหลังอังกฤษในเรื่องนี้คือสหรัฐฯก็ตาม อย่าเอาเรื่องความกล้าหาญของเอกวาดอร์ไปเปรียบเทียบกับรัฐสภาฯไทยที่มีต่อศาลฯตลก.เป็นอันขาด เพราะจะเจ็บใจกันเปล่าๆ

ครับก็รอดูกันต่อไปว่าเอกวาดอร์จะพาตัว"จูเลียน"ออกจากอังกฤษได้อย่างไร เรื่องนี้น่าติดตามเป็นอย่างยิ่ง

No comments:

Post a Comment